อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์พื้นฐานของคอมพิวเตอร์
คือ
อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการทำงานขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งหากไม่มีอุปกรณ์ดังกล่าวคอมพิวเตอร์ได้แก่
แผงแป้นอักขระ,เมาส์,เคส และจอภาพ โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะทำงานตามระบบคอมพิวเตอร์ 5
ส่วน ได้แก่ หน่วยรับเข้า ,หน่วยประมวลผล ,หน่วยความจำหลัก ,หน่วยความจำรอง และ หน่วยส่งออก
หน่วยรับเข้า [Input Unit]
ทำหน้าที่รับข้อมูล
โปรแกรม และคำสั่งต่างๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผล [CPU: Central Processing
Unit]
ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมวลแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม [Control Unit] ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และตรรกะ [Arithmetic Logic
Unit] ทำหน้าที่คำนวนทางคณิตศาสตร์และเปรียบเทียบค่าทาง
"ตรรกศาสตร์"
หน่วยความจำหลัก
หน่วยความจำหลัก
มีหน้าที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลการทำงานของคอมพิวเตอร์
ซึ่งรวมทั้งตัวคำสั่งในโปรแกรมและข้อมูลต่างๆ
ที่จะใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะกำลังทำงานอยู่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.1 แรม (RAM : Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลสำหรับใช้งานทั่วไป
การอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลใดๆ เพื่อการเขียนและการอ่านจะกระทำแบบการเข้าถึงโดยสุ่มคือ
เรียกไปที่ตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลใดก็ได้ หน่วยความจำนี้เรียกว่า 'แรม' หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้ายังจ่ายให้วงจร หากไฟฟ้าดับเมื่อใด ข้อมูลก็จะสูญหายทันที เครื่องพีซีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้
ถ้ามีหน่วยความจำแรมมากๆ จะทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ๆ ได้ดีด้วย
หน่วยความจำที่นิยมในปัจจุบันจะประมาณ 32, 64, 128, 256 เมกะไบต์
เป็นต้น
1.2 รอม (Read Only Memory : ROM) ROM ย่อมาจาก Read-Only
Memory คือหน่วยความจำที่ไม่มาสามรถที่จะแก้ข้อมูลภายในได้
แต่สามารถที่จะอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และ สามารถเก็บข้อมูลได้
แม้ว่าจะไม่มีไฟเลี้ยงก็ตาม นั้นคือเมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะอยู่เหมือนเดิม
มักจะใช้เพื่อเก็บโปรแกรมเริ่มต้นระบบ เมื่อเปิดสวิตซ์เครื่อง เช่น BIOS ของเครื่องคอมพิวเตอร์
หรือรวมถึงในเก็บโปรแกรมทำงานทั้งหมด
ในอุปกรณ์ที่ต้องการเก็บโปรแกรมทำงานไว้ในเครื่องแบบถาวร
หน่วยความจำรอง [Storage Unit]
- ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลเมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าหรือปิดคอมพิวเตอร์
หน่วยส่งออก [Output Unit]
- ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลจากคอมพิวเตอร์
1. แป้นอักขระ
แผงแป้นอักขระหรือแป้นพิมพ์ เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลมาตรฐานลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์เครื่องพิมพ์ดีดทั่วไป มีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
มีกลุ่มตัวเลขอยู่ทางด้านขวามือของผู้ใช้มีลักษณะเหมือนกับเครื่องคิดเลขทำให้สะดวกต่อการใช้งาน หน้าที่ รับข้อมูลหรือคำสั่งไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยรับข้อมูล
ได้แก่ แป้นพิมพ์,เครื่องรับแผ่นบันทึก,เมาส์ ฯลฯ
2.เมาส์ [Mouse]
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่งแต่ที่เห็นการทำงาน
โดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ
เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ Mouse ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ 2 แบบ ได้แก่ 9 Pin, Serial Port และ PS/2
(Personal System Version 2)
3.เคส[Case]
ตัวถังหรือตัวกล่องคอมพิวเตอร์ หลายคนจะเรียกว่าซีพียูเนื่องจากเข้าใจผิด สำหรับเคสนั้นใช้สำหรับบรรจุอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์หลักของคอมพิวเตอร์เอาไว้ข้างใน เช่น CPU เมนบอร์ด ,การ์ดจอฮาร์ดดิสก์ พัดลมระบายความร้อน และที่ขาดไม่ได้ก็คือ Power Supply ซึ่งจะมีติดอยู่ในเคสเรียบร้อย เคสคอมพิวเตอร์ควรเลือกที่รูปทรงสูงๆ เพื่อจะได้ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่าย และควรเลือกเคสที่มีช่องสำหรับติดตั้งฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ เผื่อเอาไว้หลายๆ ช่อง ในกรณีที่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมในภายหลังจะได้ง่ายขึ้น
3.1 หม้อแปลงไฟฟ้า [Power supply]
ตัวจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หน้าที่ของ Power Supply ไม่ใช่แค่เป็นตัวจ่ายไฟอย่างเดียว จริงๆแล้วหน้าที่หลังของ Power Supply คือตัวแปลงไฟล์ฟ้าจากระบบไฟฟ้าบ้านที่มีแรงไฟฟ้าที่เยอะเกินความต้องการของอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ เช่น ไฟฟ้าบ้านในไทยมีไฟฟ้าอยู่ที่ 220 โวลต์ แต่อุปกรณ์บางชนิดต้องการแค่ 3.3 โวลต์ 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามลำดับ หรือจะพูดง่ายๆคือ Power Supply เป็นตัวแปลงไฟฟ้าให้เหมาะสมกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้นเอง
3.2 เมนบอร์ด [Main
Board]
ศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีชิปเซตที่ทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ อีกขั้นหนึ่ง เมนบร์ด (Main board) นิยมใช้มาตรฐานการออกแบบ ATX (Advance Technology Extension) ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น
3.3 ไมโครโฟรเซสเซอร์ [microprocessor]
ไมโครโพรเซสเซอร์ที่มีคำสั่งน้อยแต่คำสั่งทำงานได้เร็วเริ่มต้นพัฒนาด้วยความร่วมมือของ ไอบีเอ็ม มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในยุคคริสต์ ทศวรรษ 1970 ไมโครโพรเซสเซอร์ที่ได้ คือ IBM 801, Stanford MIPS และ Berkeley RISC 1 และ 2 ไมโครโพรเซสเซอร์ชนิดนี้ในยุคต่อมาได้แก่ SPARC ของ ซันไมโครซิสเต็มส์และ PowerPC ของ โมโตโรล่า
3.4 ฮาร์ดิสก์ [Hard Disk]
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง
4.จอภาพหรือมอนิเตอร์ [Monitor]
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น